มีหลายครั้งที่ผลงานของพนักงานหรือทีมงานที่ได้อุตสาห์ทุ่มเท ทำงานหนักเพื่อสร้างขึ้นมา ไม่ว่าจะเป็นแผนธุรกิจ แผนงาน ผลงานการออกแบบ หรือเอกสารสำหรับนำเสนอ ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลอย่างนโยบายหรือแผนงานถูกเปลี่ยนกระทันหัน หรือจากการเปลี่ยนแปลงภายในองค์กรเอง หรือแม้จากเหตุผลง่ายๆ ว่า หัวหน้างานเกิดนึกอะไรซักอย่างขึ้นมา แล้วเปลี่ยนใจ(อีกแล้ว) ทำให้งานที่ทำมานั้น "เสียเปล่า" หรือ"ไร้ประโยชน์" ทำให้ต้องกลับไปใหม่ซ้ำๆ หรือแม้แต่ถูกยกเลิกเก็บพับไป
สำหรับเศรษฐศาสตร์สายหลักซึ่งเชื่อในการตัดสินใจอย่างมีเหตุผลของมนุษย์แล้ว การทำงานของเราย่อมขึ้นกับผลตอบแทนอย่างแยกกันไม่ได้ ยิ่งได้มากก็ทำมาก ทำแล้วได้ใช้หรือเปล่าก็ไม่เกี่ยวข้องกัน แต่มันแบบนั้นจริงๆนะเหรอ หรือมีปัจจัยอื่นที่ทำให้เราเกิดแรงจูงใจในการทำงานอย่างทุ่มเทกันนะ
ก่อนอื่นเรามาดูกันว่า มนุษย์เราจะพยายาม ทำเรื่องยากๆ ไปทำไม ทำไมพวกเราชาวมนุษย์บางคน ถึงยอมเหนื่อยยาก ออกไปปีนเขาสูง ที่ไม่เห็นมีอะไรบนยอด นอกจากหินกับหิมะ ไม่มีร้านกาแฟชิวๆอยู่บนนั้นซะหน่อย เอาเป็นว่า แรงพลักดันให้บรรลุเป้าหมาย อดทนต่อความยากลำบากเพื่อเอาชนะอุปสรรคเป็นคุณสมบัติที่ติดตัวพวกเรามาตั้งแต่ดึกดำบรรพ์ เพื่อให้เผ่าพันธุ์อยู่รอดได้ เรารู้สึกสนุก พีงพอใจที่ได้ทุ่มเท และท้าทายที่ได้ลงมือทำอะไรสักอย่าง การได้เห็นว่าเมื่อพยายามแล้ว ได้อะไร เป้าหมายหรือความสำเร็จอยู่ตรงไหน จึงเป็นเรื่องสำคัญ สำหรับคนที่อดทนลำบากปีนเขา เพราะยอดเขามันอยู่บนนั้นยังไงละ แล้วถ้าหากว่างานนั้นถูกทำให้ไร้ประโยชน์ละ เป้าหมายที่เห็นอยู่ถูกย้ายออกไป สิ่งที่ทุ่มเท อดทนทำงานหนักมาจู่ๆ กลับไร้ความหมายไปซะงั้น จะเกิดอะไรขึ้น
นักวิชาการสนใจศึกษาว่า งานที่ถูกลดคุณค่าลง ส่งผลต่อแรงจูงใจในการทำงานอย่างไร โดยให้นักศึกษาที่ล้วนชื่นชอบการต่อเลโก้ (ว่าแต่ใครจะไม่ชอบบ้างละ) ต่อเลโก้เป็นหุ่นยนต์ และได้รับค่าตอบแทนจากหุ่นแต่ละตัวที่ต่อได้ แต่จะได้ในอัตราที่ลดลงเรื่อยๆ เพื่อให้ผู้ทำงานตัดสินใจเลิกเองได้ เมื่อคิดว่าเงินที่ได้ ไม่คุ้มค่ากับเวลาและแรงงานที่เสียไป การทดลองแบ่งอาสาสมัครเหล่านี้ออกเป็นสองกลุ่ม คือกลุ่มแรก ผู้ทดลองวางหุ่นที่ต่อสำเร็จแล้วเอาไว้บนโต๊ะ ให้คนที่ผ่านไปมาได้ชื่นชม มีการแสดงออกถึงการยอมรับผลงานนั้นๆ ส่วนกลุ่มที่สอง ตรงนี้สำคัญนะ ทีมงานจะจับหุ่นที่เพิ่งต่อเสร็จแยกออกเป็นชิ้นๆ ใส่กล่องกลับตามเดิมทันทีที่ต่อเสร็จ ต่อหน้าต่อตานักศึกษาเลย เพื่อเป็นการแยกระหว่างกลุ่มที่หนึ่งซึ่งทำงานแล้วมีคนได้เห็นหรือยอมรับในผลงาน กับกลุ่มที่สอง ที่ทำงานเสียเปล่าอย่างไร้ความหมาย โดยที่ทั้งสองกลุ่มได้ผลตอบแทนต่อชิ้นงานเท่ากัน ผลที่ได้เหรอครับ พอเดาได้มะ?
ผลคือ กลุ่มที่สอง ซึ่งทำงานอย่างไร้ประโยชน์ได้ผลงานออกมาคิดเป็นแค่ 68% ของคนกลุ่มแรกเท่านั้น ยิ่งกว่านั้น เมื่อค่าตอบแทนต่อชิ้นงานลดลงจนเหลือแค่ครึ่งเดียว จำนวนคนในกลุ่มที่สอง นี้จะเหลือไม่ถึง 20% เท่านั้นที่ยังทำงานต่อไป เมื่อเทียบกับคนกลุ่มแรกที่ยังมีคนกว่า 65% ที่ยังทำงานอยู่ จำได้มั้ยครับว่า ทั้ง 2 กลุ่มนี้ ได้รับผลตอบแทนเท่ากัน นักวิจัยยังพบอีกด้วยว่า คนกลุ่มแรกที่ทำงานอย่างมีความหมาย มีความชื่นชอบต่องานที่ทำมากกว่าอย่างมีนัยยะสำคัญ ในขณะคนกลุ่มที่สองแทบไม่มีใครตอบว่าชอบการทำงานดังกล่าวเลย ทั้งๆที่ตอนเริ่มต้น พวกเขาล้วนเป็นคนที่ชอบเลโก้กันทั้งนั้น
นักวิจัยยังได้ทดลองโดยเพิ่มกลุ่มที่สาม ซึ่งผลงานของพวกเค้านั้นถูกละเลย วางเก็บไว้อย่างไม่แยแส ซึ่งผลที่ได้แทบไม่ดีไปกว่ากลุ่มที่ถูกทำลายผลงานทิ้งอย่างไม่ใยดีเลย
ความรักในงาน ความรู้สึกว่างานที่ทำก็ให้เกิดผลลัพท์ที่น่าพอใจ เป็นแรงผลักดันสำคัญที่ช่วยให้เรามีความพยายามอย่างต่อเนื่องในงานนั้นๆ มีความอดทนต่อความอยากลำบาก แต่ถ้าหากว่าสิ่งที่เราสู้อุตส่าห์ลงแรงทำไปนั้นกลับไร้ความหมาย ถูกละเลยทิ้งไปอย่างไม่แยแส หรือต้องทำใหม่ซ้ำๆซากๆ ความสนใจในการทำงานนั้นก็หดหายไปอย่างง่ายดาย ถึงแม้จะได้ผลตอบแทนอย่างงามก็ตาม
การศึกษายังพบอีกว่า ประสบการณ์จากการทำงานเสียเปล่า ยังมีผลไปถึงทัศนคติของพนักงานต่อบริษัท จากคนที่เคยรู้สึกว่าตัวเองมีประโยชน์และมีความสุขกับการทำงาน กลับรู้สึกไม่พอใจและขาดแรงจูงใจที่จะทำงานนั้นต่อไป จะเห็นได้ว่า การไม่มีใครเห็นผลงานของเรา กระทบกับแรงจูงใจมากกว่าที่เราคาด
จริงอยู่ที่ว่า พวกเราต่างก็ทำงานแลกกับค่าตอบแทน ไม่มากก็น้อย อีกทั้งการทำงานในปัจจุบันได้รับอิทธิพลมาจากหลักการ การแบ่งแยกแรงงาน (division of labor) โดยการแบ่งงานออกเป็นส่วนเล็กย่อยๆ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในกระบวนการผลิด ซึ่งเป็นแนวคิดที่มีมาตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 18 ซึ่งทำให้ ในแต่ละส่วนย่อยไม่เห็นเป้าหมายในภาพรวม หรือเห็นความหมายของงานที่ทำ ผลการวิจัยบ่งชี้ว่าการลดคุณค่าหรือความหมายในงานที่เราทำ ซึ่งมักพบได้ในหลายรูปแบบ ทั้งที่ตั้งใจและไม่ตั้งใจโดยผู้บริหารหรือหัวหน้างาน ตั้งแต่การเมินเฉย ไม่ให้ความสำคัญ หรือแม้แต่การบอกง่ายๆว่า นี่ไม่ใช่สิ่งที่หัวหน้าอย่างคุณต้องการ เป็นการทำลายแรงจูงใจในการทำงาน และความรู้สึกดีๆต่อองค์กรมากจนเราคาดไม่ถึงทีเดียว ส่งผลเสียต่องานโดยเฉพาะกับคนเก่งๆมีความสามารถสูงซึ่งมักจะทุ่มเทแรงกายแรงใจและมีความภูมิใจในผลงานของตนเอง
ลองสำรวจในองค์กรหรือแม้แต่ตัวคุณองดูซิครับ บางที่การที่พนักงานในที่ทำงานของคุณขาดแรงจูงใจในการทำงาน อาจจะมาจากสาเหตุนี้ก็ได้ บางครั้งเราอาจทำลายแรงจูงใจโดยไม่ตั้งใจ แน่ละพนักงานเก่งๆ หลายคนคงไม่อยากทำงานที่ไม่มีความหมายไปวันๆ เพียงเพื่อรับเงินตอนสิ้นเดือน ผลจากการทดลองนี้ช่วยให้เราเห็นว่า ความหมายเล็กๆน้อยๆในงาน มีอิทธิพลต่อเรามากกว่าที่คาดคิด สิ่งที่สำคัญจริงๆ สำหรับผู้บริหาร หัวหน้า ครู หรือแม้แต่คนเป็นพ่อแม่ อาจไม่ใช่แค่เพิ่มความหมายหรือชี้ให้เห็นประโยชน์ของงานเพียงอย่างเดียว แต่เป็นการไม่พลั้งเผลอทำลายคุณค่าของงานอีกด้วย
Source: THE UPSIDE OF IRRATIONALITY By Dan Ariely
ภาพประกอบจาก internet |
ก่อนอื่นเรามาดูกันว่า มนุษย์เราจะพยายาม ทำเรื่องยากๆ ไปทำไม ทำไมพวกเราชาวมนุษย์บางคน ถึงยอมเหนื่อยยาก ออกไปปีนเขาสูง ที่ไม่เห็นมีอะไรบนยอด นอกจากหินกับหิมะ ไม่มีร้านกาแฟชิวๆอยู่บนนั้นซะหน่อย เอาเป็นว่า แรงพลักดันให้บรรลุเป้าหมาย อดทนต่อความยากลำบากเพื่อเอาชนะอุปสรรคเป็นคุณสมบัติที่ติดตัวพวกเรามาตั้งแต่ดึกดำบรรพ์ เพื่อให้เผ่าพันธุ์อยู่รอดได้ เรารู้สึกสนุก พีงพอใจที่ได้ทุ่มเท และท้าทายที่ได้ลงมือทำอะไรสักอย่าง การได้เห็นว่าเมื่อพยายามแล้ว ได้อะไร เป้าหมายหรือความสำเร็จอยู่ตรงไหน จึงเป็นเรื่องสำคัญ สำหรับคนที่อดทนลำบากปีนเขา เพราะยอดเขามันอยู่บนนั้นยังไงละ แล้วถ้าหากว่างานนั้นถูกทำให้ไร้ประโยชน์ละ เป้าหมายที่เห็นอยู่ถูกย้ายออกไป สิ่งที่ทุ่มเท อดทนทำงานหนักมาจู่ๆ กลับไร้ความหมายไปซะงั้น จะเกิดอะไรขึ้น
นักวิชาการสนใจศึกษาว่า งานที่ถูกลดคุณค่าลง ส่งผลต่อแรงจูงใจในการทำงานอย่างไร โดยให้นักศึกษาที่ล้วนชื่นชอบการต่อเลโก้ (ว่าแต่ใครจะไม่ชอบบ้างละ) ต่อเลโก้เป็นหุ่นยนต์ และได้รับค่าตอบแทนจากหุ่นแต่ละตัวที่ต่อได้ แต่จะได้ในอัตราที่ลดลงเรื่อยๆ เพื่อให้ผู้ทำงานตัดสินใจเลิกเองได้ เมื่อคิดว่าเงินที่ได้ ไม่คุ้มค่ากับเวลาและแรงงานที่เสียไป การทดลองแบ่งอาสาสมัครเหล่านี้ออกเป็นสองกลุ่ม คือกลุ่มแรก ผู้ทดลองวางหุ่นที่ต่อสำเร็จแล้วเอาไว้บนโต๊ะ ให้คนที่ผ่านไปมาได้ชื่นชม มีการแสดงออกถึงการยอมรับผลงานนั้นๆ ส่วนกลุ่มที่สอง ตรงนี้สำคัญนะ ทีมงานจะจับหุ่นที่เพิ่งต่อเสร็จแยกออกเป็นชิ้นๆ ใส่กล่องกลับตามเดิมทันทีที่ต่อเสร็จ ต่อหน้าต่อตานักศึกษาเลย เพื่อเป็นการแยกระหว่างกลุ่มที่หนึ่งซึ่งทำงานแล้วมีคนได้เห็นหรือยอมรับในผลงาน กับกลุ่มที่สอง ที่ทำงานเสียเปล่าอย่างไร้ความหมาย โดยที่ทั้งสองกลุ่มได้ผลตอบแทนต่อชิ้นงานเท่ากัน ผลที่ได้เหรอครับ พอเดาได้มะ?
ผลคือ กลุ่มที่สอง ซึ่งทำงานอย่างไร้ประโยชน์ได้ผลงานออกมาคิดเป็นแค่ 68% ของคนกลุ่มแรกเท่านั้น ยิ่งกว่านั้น เมื่อค่าตอบแทนต่อชิ้นงานลดลงจนเหลือแค่ครึ่งเดียว จำนวนคนในกลุ่มที่สอง นี้จะเหลือไม่ถึง 20% เท่านั้นที่ยังทำงานต่อไป เมื่อเทียบกับคนกลุ่มแรกที่ยังมีคนกว่า 65% ที่ยังทำงานอยู่ จำได้มั้ยครับว่า ทั้ง 2 กลุ่มนี้ ได้รับผลตอบแทนเท่ากัน นักวิจัยยังพบอีกด้วยว่า คนกลุ่มแรกที่ทำงานอย่างมีความหมาย มีความชื่นชอบต่องานที่ทำมากกว่าอย่างมีนัยยะสำคัญ ในขณะคนกลุ่มที่สองแทบไม่มีใครตอบว่าชอบการทำงานดังกล่าวเลย ทั้งๆที่ตอนเริ่มต้น พวกเขาล้วนเป็นคนที่ชอบเลโก้กันทั้งนั้น
นักวิจัยยังได้ทดลองโดยเพิ่มกลุ่มที่สาม ซึ่งผลงานของพวกเค้านั้นถูกละเลย วางเก็บไว้อย่างไม่แยแส ซึ่งผลที่ได้แทบไม่ดีไปกว่ากลุ่มที่ถูกทำลายผลงานทิ้งอย่างไม่ใยดีเลย
ความรักในงาน ความรู้สึกว่างานที่ทำก็ให้เกิดผลลัพท์ที่น่าพอใจ เป็นแรงผลักดันสำคัญที่ช่วยให้เรามีความพยายามอย่างต่อเนื่องในงานนั้นๆ มีความอดทนต่อความอยากลำบาก แต่ถ้าหากว่าสิ่งที่เราสู้อุตส่าห์ลงแรงทำไปนั้นกลับไร้ความหมาย ถูกละเลยทิ้งไปอย่างไม่แยแส หรือต้องทำใหม่ซ้ำๆซากๆ ความสนใจในการทำงานนั้นก็หดหายไปอย่างง่ายดาย ถึงแม้จะได้ผลตอบแทนอย่างงามก็ตาม
การศึกษายังพบอีกว่า ประสบการณ์จากการทำงานเสียเปล่า ยังมีผลไปถึงทัศนคติของพนักงานต่อบริษัท จากคนที่เคยรู้สึกว่าตัวเองมีประโยชน์และมีความสุขกับการทำงาน กลับรู้สึกไม่พอใจและขาดแรงจูงใจที่จะทำงานนั้นต่อไป จะเห็นได้ว่า การไม่มีใครเห็นผลงานของเรา กระทบกับแรงจูงใจมากกว่าที่เราคาด
จริงอยู่ที่ว่า พวกเราต่างก็ทำงานแลกกับค่าตอบแทน ไม่มากก็น้อย อีกทั้งการทำงานในปัจจุบันได้รับอิทธิพลมาจากหลักการ การแบ่งแยกแรงงาน (division of labor) โดยการแบ่งงานออกเป็นส่วนเล็กย่อยๆ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในกระบวนการผลิด ซึ่งเป็นแนวคิดที่มีมาตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 18 ซึ่งทำให้ ในแต่ละส่วนย่อยไม่เห็นเป้าหมายในภาพรวม หรือเห็นความหมายของงานที่ทำ ผลการวิจัยบ่งชี้ว่าการลดคุณค่าหรือความหมายในงานที่เราทำ ซึ่งมักพบได้ในหลายรูปแบบ ทั้งที่ตั้งใจและไม่ตั้งใจโดยผู้บริหารหรือหัวหน้างาน ตั้งแต่การเมินเฉย ไม่ให้ความสำคัญ หรือแม้แต่การบอกง่ายๆว่า นี่ไม่ใช่สิ่งที่หัวหน้าอย่างคุณต้องการ เป็นการทำลายแรงจูงใจในการทำงาน และความรู้สึกดีๆต่อองค์กรมากจนเราคาดไม่ถึงทีเดียว ส่งผลเสียต่องานโดยเฉพาะกับคนเก่งๆมีความสามารถสูงซึ่งมักจะทุ่มเทแรงกายแรงใจและมีความภูมิใจในผลงานของตนเอง
ลองสำรวจในองค์กรหรือแม้แต่ตัวคุณองดูซิครับ บางที่การที่พนักงานในที่ทำงานของคุณขาดแรงจูงใจในการทำงาน อาจจะมาจากสาเหตุนี้ก็ได้ บางครั้งเราอาจทำลายแรงจูงใจโดยไม่ตั้งใจ แน่ละพนักงานเก่งๆ หลายคนคงไม่อยากทำงานที่ไม่มีความหมายไปวันๆ เพียงเพื่อรับเงินตอนสิ้นเดือน ผลจากการทดลองนี้ช่วยให้เราเห็นว่า ความหมายเล็กๆน้อยๆในงาน มีอิทธิพลต่อเรามากกว่าที่คาดคิด สิ่งที่สำคัญจริงๆ สำหรับผู้บริหาร หัวหน้า ครู หรือแม้แต่คนเป็นพ่อแม่ อาจไม่ใช่แค่เพิ่มความหมายหรือชี้ให้เห็นประโยชน์ของงานเพียงอย่างเดียว แต่เป็นการไม่พลั้งเผลอทำลายคุณค่าของงานอีกด้วย
Source: THE UPSIDE OF IRRATIONALITY By Dan Ariely
3-12.0 BEHAVIORAL ECONOMICS: Work for a Reason
Reviewed by aphidet
on
8:01 AM
Rating:
No comments: