3-8.0 BEHAVIORAL ECONOMICS: Choice or no choice ตอนที่ 8

มีผลสำรวจที่น่าสนใจว่า หลังเหตุการณ์ 911 ในสหรัฐอเมริกา ถึงแม้จะมีหลักฐานมัดตัว บินลาเดนรวมถึงเทปบันทึกภาพของบินลาเดนเองที่เชื่อมโยงกับเหตุการณ์ดังกล่าว ชาวมุสลิมกว่า 60% จากชาติมุสลิม 9 ประเทศยังไม่เชื่อว่าชาวอาหรับมีส่วนเกี่ยวข้องจริง ไม่ต่างกับเพื่อนรักสองคนที่กำลังเชียร์ฟุตบอลทีมโปรดของตนเองหน้าจอทีวี ถ้าบังเอิญเชียร์กันคนละทีม เราจะได้เห็นการถกเถียงอย่างเอาเป็นเอาตาย ว่าลูกไหนล้ำหน้า ลูกไหนควรหรือไม่ควรได้จุดโทษ ทั้งหมดนี้ล้วนมีที่มาจากความจงรักภักดีต่อแบรนด์ซึ่งในที่นี้คือทีมโปรดและศาสนาที่นับถือ ซึ่งมาบดบังการใช้วิจารณญาณการใช้เหตุผลในการเลือกเชื่อหรือไม่เชื่อของเรา ปฏิเสธข้อมูลที่มีแนวโน้มขัดแย้งกับความเชื่อของเรา ดื้นรั้นและยึดติดความคิดเห็นของตัวอย่างเอาเป็นเอาตาย นักวิชาการเรียกปรากฏการณ์นี้ว่า การหลอกตัวเอง
ภาพประกอบจาก internet
การศึกษาและความเข้าใจเรื่องการหลอกตัวเองและการคิดเข้าของตัวเองหรือกลุ่มของตน มีมานานตั้งแต่สมัยกรีกโบราณ ในยุคปัจจุบันนักวิจัยพบว่า การหลอกตัวเองมีความสัมพันธ์กับความรู้สึกมีส่วนร่วม การเป็นเจ้าของ ไม่ว่าจะเป็นสิ่งของ แนวคิด กลุ่มแนวคิด สถาบันการศึกษา ทีมกีฬา พรรคการเมือง กลุ่มทางศาสนา หรือแม้แต่แบรนด์สินค้า ความรู้สึกดังกล่าวทำให้เราปกป้องสถานะ ความเชื่อ แนวความคิดของตนเอง ถึงแม้จะเป็นการปกป้องแบบไม่มีเหตุผลก็ตาม ผลการศึกษาพบว่า คนเรามักยึดติดทัศนะคติของตนเองหรือกลุ่มของตน ถึงแม้ความจริงที่ตรงกันข้ามจะมีให้เห็นอยู่ต่อหน้าต่อตา เรามักให้ความสำคัญและคุณค่าของความคิดเห็นทางการเมือง ศาสนา มากกว่าที่ควรเป็น ทำให้เราปิดกั้น ละเลย ไม่ยอมพิจารณาข้อมูลอื่นๆที่ไม่คล้อยตามตนเอง ในทางกลับกัน เรามักหลอกตัวเองให้เชื่ออย่างสนิทใจในข้อมูลที่มาจาก"พวกเดียวกับเรา" ถึงแม้ข้อมูลนั้นจะน่าสงสัย หรือบางทีอาจจะรู้แก่ใจว่าเป็นข้อมูลเท็จ เมื่อคนเราปฏิเสธต่อต้านความคิดเห็นของผู้อื่นอย่างเอาเป็นตาย ดื้อรั้นและยึดติดกับความคิดเห็นของตน ทำให้เราไม่สามารถใช้เหตุผลในการเลือกที่เป็นเหตุเป็นผลได้

การศึกษายังพบความจริงที่น่าสนใจอีกด้วยว่า ไม่ว่าเราจะรับรู้ข้อเท็จจริงเดียวกัน ดูถ่ายทอดสดกีฬาพร้อมพร้อมกัน อ่านประวัติศาสตร์เหมือนกัน ดูข่าวพร้อมๆ กัน คนสองคนก็สามารถมีมุมมองที่แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิงได้ เนื่องจากการหลอกตัวเองทำให้เกิดแนวคิดที่ไม่ยืดหยุ่นและไม่เปลี่ยนแปลง หรือเรียกง่ายๆว่าคนเรามักมีแนวโน้มของ "อคติ"ที่ฝังลึกอยู่ในจิตใจ

ดังนั้นจึงไม่ใช่เรื่องน่าแปลกใจว่าทำไมในสังคมของเรา ทั้งในระดับภูมิภาคและระดับชาติ มักมีข้อขัดแย้ง มองในมุมที่แตกต่าง ข้อโต้แย้งที่ไม่มีที่สิ้นสุด ทั้งนี้ผลการศีกษาพบว่าความขัดแย้งทางความคิดดังกล่าว ไม่เกี่ยวกับพื้นฐานความรุ้ การศีกษา ข้อมูลที่ได้รับ มุมมองที่แตกต่างอย่างสิ้นเชิงเหล่านี้เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ความขัดแย้ง ลุกลามบานปลาย แน่นอนไม่ได้หมายถึงแฟนๆ ของทีมฟุตบอลสองทีมที่มีแฟนคลับกลุ่มใหญ่ในประเทศของเรา แต่เป็นเรื่องต่างๆ ที่เราพวกเราในสังคมรับทราบกันดี ตั้งแต่เรื่องของ อิสราเอลกับปาเลสไตน์ มุสลิมต่างนิกาย ความขัดแย้งในทะเลจีนใต้ หรือเรื่องใกล้ๆ ตัวเราอย่างเรื่องฝ่ายขั้วทางการเมือง ร่างกฏหมายที่เป็นข้อถกเถียง แม้แต่เรื่องศาสนา หลายครั้งที่เรามักจะคิดว่าอีกฝ่ายช่างไร้เหตุผล และโง่เขลาถึงแม้ว่าจะมีการศึกษา ประสบการณ์ชีวิต หรือแม้แต่สถานะทางสังคมที่สูงก็ตาม

นักวิชาการณ์สรุปอย่างน่าสนใจว่า ถึงแม้การหลอกตัวเองและการยึดติดของมนุษย์จะดูเหมือนไม่มีทางแก้ไขอย่างง่ายๆ ที่ทุกคนจะยอมรับ แต่อย่างน้อยที่สุด เมื่อเราเข้าใจและยอมรับว่าเราทุกคนไม่ว่าใครต่างก็มีอคติด้วยกันทั้งนั้น เราต่างก็ยึดติดกับมุมมองของตัวเอง และปิดกั้นความจริงด้านอื่นๆ เราก็อาจจะเปิดใจยอมรับฟังความคิดเห็นของกันและกัน ยอมรับความคิดเห็นจาก"คนกลาง"ได้มากขึ้น ถึงแม้จะไม่ใช่เรื่องง่ายก็ตาม
3-8.0 BEHAVIORAL ECONOMICS: Choice or no choice ตอนที่ 8 3-8.0 BEHAVIORAL ECONOMICS: Choice or no choice ตอนที่ 8 Reviewed by aphidet on 6:59 AM Rating: 5

No comments:

Powered by Blogger.