สินค้าแบรนด์ดังๆ ทั้งหลาย มักพบว่ามีผู้ชื่นชอบติดตามข่าว มีกลุ่มที่พูดคุยถึงผลิตภัณฑ์ หลงไหลได้ปลื้ม ภาคภูมิใจ จงรักภักดีกับแบรนด์จนถึงขั้นที่เรียกผู้นำองค์กรว่าศาสดา และเรียกตัวเองว่าเหล่าสาวก ไม่ต่างไปจากการนับถือศาสนา ถ้ามองในมุมการตลาด ซึ่งต้องการทำให้คนหลงไหล และภักดีต่อแบรนด์ ศาสนากับแบรนด์มีความคล้ายคลึงกันในหลายๆ ด้าน
ในต่างประเทศ มีคนยินดีจ่ายค่าที่ดินสำหรับฝั่งศพตัวเองในราคาสูงลิ่ว สำหรับสุสานที่มีการนำดินมาจากนครเยรูซาเล็ม ไม่ต่างไปจากการที่เรายินดีจ่ายค่าสมาร์ทโฟนในราคาแพง เพื่อให้ได้มาซึ่งสิ่งที่พวกเขาเชื่อว่ามีคุณค่าทางจิตใจ
นักวิจัยทำการศึกษาผลตอบสนองของสมอง เมื่อบุคคลนึกถึงประสบการณ์และสัญลักษณ์ทางศาสนา โดยนำไปเปรียบเทียบกับการนึกถึงผลิตภัณฑ์จากแบรนด์ดังๆ อย่าง ฮาร์เลย์-เดวิดสัน รถเฟอร์รารี แอปเปิล กระทิงแดง (red bull)และพบว่าสมองมีการตอบสนองที่คล้ายคลึงกันจนแทบไม่แตกต่าง ผลจากงานวิจัยชี้ให้เห็นว่า เราตอบสนองต่อผลิตภัณฑ์จากแบรนด์ที่เราชื่นชอบ ไม่ต่างไปจากการตอบสนองต่อศาสนาที่เรานับถือ เราเลือกสินค้าจากแบรนด์นั้นๆ เพราะเรามีความเชื่อเชื่อและศรัทธาว่าสิ่งนั้นดี ไม่แตกต่างไปจากการที่เราเลือกเคารพบูชาหรือเลือกที่จะทำตามคำสอนของศาสนาหรือลัทธิความเชื่อที่เรานับถืออยู่ นั่นหมายถึงเราได้"ละทิ้ง"การใช้เหตุผล และตรรกะต่างๆ ที่มีต่อสินค้านั้นๆ ไปชั่วคราว ปล่อยให้ความเชื่อและศรัทธาในตัวเราชักนำในการตัดสินใจ
ศาสนาทั้งหลายล้วนมีองค์ประกอบร่วมกันเช่น ความรู้สึกร่วมเป็นกลุ่มของผู้นับถือ เป้าหมายทางจิตวิญญาณ ความใหญ่โตอลังการของโบสถ์วิหาร คำสอนของศาสดา สัญลักษณ์เพื่อเคารพบูชา ความลึกลับ ตำนานเรื่องเล่า และพิธีกรรมเป็นต้น จะเห็นว่าสิ่งเหล่านี้เราล้วนพบได้ในแบรนด์ที่มีชื่อเสียง เมื่อเราเดินเข้าไปในสถานที่ ที่มีการตบแต่งที่ดูเฉพาะตัวและหรูหราของแอปเปิลสโตร์ในแมนฮัตตัน ก็ไม่ต่างกับการเดินเข้าไปในวิหารซักแห่งในยุโรป เป้าหมายของแอปเปิลคืออะไรนะเหรอครับ กรณีที่คุณไม่ใช่"สาวก"ของแอปเปิล มันคือการสร้างผลิตภัณฑ์เจ๋งๆ แล้วสัญลักษณ์"ทางศาสนา"ของแอปเปิล ถึงคุณไม่ใช่สาวกผู้ภักดี ก็น่าจะตอบคำถามนี้ได้
การสร้างแบรนด์ให้มีผู้ติดตามจำนวนมากจึงเป็นหนึ่งในเป้าหมายของการทำการตลาดผ่านช่องทางต่างๆบนโลกดิจิตอลในปัจจุบัน แน่นอนว่าต้องมีการสร้างเรื่องราวให้ติดตาม มีสัญลักษณ์ให้เด่นชัดแตกต่าง รวมถึงมีพิธีกรรมหรือกิจกรรม ให้แฟนๆ ได้ทำร่วมกัน โดยทั้งหมดนี้เพื่อสร้างเหล่าผู้ติดตาม หรือแฟนพันธ์แท้ที่จะช่วยเผยแพร่ความนิยม บอกกล่าวถึงผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ไปจนถึงตอบคำถาม แก้ข้อสงสัยต่างๆ ให้กับลูกค้าคนอื่นๆ ไม่ต่างจากอัครสาวกในทางศาสนาเลย
สิ่งที่ต่างกันระหว่างศาสนาและการตลาดของแบรนด์ คือ ศาสนามักมีเป้าหมายในทางจิตวิญญาณ การพัฒนาตัวเอง การส่งเสริมความดีงามในสังคมมนุษย์ แน่นอนว่ามันต่างไปจากผลตอบแทนในรูปผลประโยชน์ในทางธุรกิจมากมาย แต่จะเกิดอะไรขึ้น ถ้าการตลาดเพื่อผลประโยชน์ของคนบางกลุ่มกับศาสนากลายเป็นสิ่งเดียวกัน ไม่ว่าจะในมุมของผลประโยชน์ทางการเมือง หรือผลประโยชน์ในทางธุรกิจ น่าคิดนะครับ เพราะยืนยันต่อพระเจ้าได้เลยว่า มีการจงใจนำองค์ประกอบในเรื่องศาสนาไปใช้ในการตลาดอย่างแน่นอน
ภาพประกอบจาก internet |
นักวิจัยทำการศึกษาผลตอบสนองของสมอง เมื่อบุคคลนึกถึงประสบการณ์และสัญลักษณ์ทางศาสนา โดยนำไปเปรียบเทียบกับการนึกถึงผลิตภัณฑ์จากแบรนด์ดังๆ อย่าง ฮาร์เลย์-เดวิดสัน รถเฟอร์รารี แอปเปิล กระทิงแดง (red bull)และพบว่าสมองมีการตอบสนองที่คล้ายคลึงกันจนแทบไม่แตกต่าง ผลจากงานวิจัยชี้ให้เห็นว่า เราตอบสนองต่อผลิตภัณฑ์จากแบรนด์ที่เราชื่นชอบ ไม่ต่างไปจากการตอบสนองต่อศาสนาที่เรานับถือ เราเลือกสินค้าจากแบรนด์นั้นๆ เพราะเรามีความเชื่อเชื่อและศรัทธาว่าสิ่งนั้นดี ไม่แตกต่างไปจากการที่เราเลือกเคารพบูชาหรือเลือกที่จะทำตามคำสอนของศาสนาหรือลัทธิความเชื่อที่เรานับถืออยู่ นั่นหมายถึงเราได้"ละทิ้ง"การใช้เหตุผล และตรรกะต่างๆ ที่มีต่อสินค้านั้นๆ ไปชั่วคราว ปล่อยให้ความเชื่อและศรัทธาในตัวเราชักนำในการตัดสินใจ
ศาสนาทั้งหลายล้วนมีองค์ประกอบร่วมกันเช่น ความรู้สึกร่วมเป็นกลุ่มของผู้นับถือ เป้าหมายทางจิตวิญญาณ ความใหญ่โตอลังการของโบสถ์วิหาร คำสอนของศาสดา สัญลักษณ์เพื่อเคารพบูชา ความลึกลับ ตำนานเรื่องเล่า และพิธีกรรมเป็นต้น จะเห็นว่าสิ่งเหล่านี้เราล้วนพบได้ในแบรนด์ที่มีชื่อเสียง เมื่อเราเดินเข้าไปในสถานที่ ที่มีการตบแต่งที่ดูเฉพาะตัวและหรูหราของแอปเปิลสโตร์ในแมนฮัตตัน ก็ไม่ต่างกับการเดินเข้าไปในวิหารซักแห่งในยุโรป เป้าหมายของแอปเปิลคืออะไรนะเหรอครับ กรณีที่คุณไม่ใช่"สาวก"ของแอปเปิล มันคือการสร้างผลิตภัณฑ์เจ๋งๆ แล้วสัญลักษณ์"ทางศาสนา"ของแอปเปิล ถึงคุณไม่ใช่สาวกผู้ภักดี ก็น่าจะตอบคำถามนี้ได้
การสร้างแบรนด์ให้มีผู้ติดตามจำนวนมากจึงเป็นหนึ่งในเป้าหมายของการทำการตลาดผ่านช่องทางต่างๆบนโลกดิจิตอลในปัจจุบัน แน่นอนว่าต้องมีการสร้างเรื่องราวให้ติดตาม มีสัญลักษณ์ให้เด่นชัดแตกต่าง รวมถึงมีพิธีกรรมหรือกิจกรรม ให้แฟนๆ ได้ทำร่วมกัน โดยทั้งหมดนี้เพื่อสร้างเหล่าผู้ติดตาม หรือแฟนพันธ์แท้ที่จะช่วยเผยแพร่ความนิยม บอกกล่าวถึงผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ไปจนถึงตอบคำถาม แก้ข้อสงสัยต่างๆ ให้กับลูกค้าคนอื่นๆ ไม่ต่างจากอัครสาวกในทางศาสนาเลย
สิ่งที่ต่างกันระหว่างศาสนาและการตลาดของแบรนด์ คือ ศาสนามักมีเป้าหมายในทางจิตวิญญาณ การพัฒนาตัวเอง การส่งเสริมความดีงามในสังคมมนุษย์ แน่นอนว่ามันต่างไปจากผลตอบแทนในรูปผลประโยชน์ในทางธุรกิจมากมาย แต่จะเกิดอะไรขึ้น ถ้าการตลาดเพื่อผลประโยชน์ของคนบางกลุ่มกับศาสนากลายเป็นสิ่งเดียวกัน ไม่ว่าจะในมุมของผลประโยชน์ทางการเมือง หรือผลประโยชน์ในทางธุรกิจ น่าคิดนะครับ เพราะยืนยันต่อพระเจ้าได้เลยว่า มีการจงใจนำองค์ประกอบในเรื่องศาสนาไปใช้ในการตลาดอย่างแน่นอน
3-6.0 BEHAVIORAL ECONOMICS: Choice or no choice ตอนที่ 6
Reviewed by aphidet
on
9:18 AM
Rating:
No comments: