พวกเราชาวโลกรู้กันมานานตั้งแต่สมัยที่เรายังเป็นมนุษย์วานรนุ่งกางเกงลิงอยู่ในทุ่งหญ้าแล้วว่า เราเป็นพวก... พลัดวันประกันพรุ่ง สมัยที่มนุษย์ลิงยังเป็นนักเรียน พวกเค้าก็มักจะรอจนใกล้สอบแล้วค่อยอ่านหนังสือ ถ้ายังไม่ถึงกำหนดส่งรายงาน ก็ขอไปปาร์ตี้สุดสวิงริงโก้ก่อน พอใกล้ๆ ก็ค่อยลงมือปั่นรายงานส่งอาจารย์ พวกเค้าใช้เงินช็อปปื้งหรือไปเที่ยวทุ่งหญ้าอื่นๆ มากกว่าเก็บออม แอบกินของอร่อยๆ มากกว่าจะพาร่างตุ้ยนุ้ยไปออกกำลังกาย มักจะพ่ายแพ้ต้องความต้องการใช้ปัจจุบันมากกว่าการอดทนทำเพื่ออนาคต หรือง่ายๆ คือพวกเราเลือกประโยขน์ที่รับรู้ได้ในปัจจุบัน มากกว่าประโยชน์ที่"คาดว่า"จะได้รับในอนาคต ทั้งๆ ที่ข้อมูลเรื่องประโยชน์ในอนาคตนั้นชัดเจน มีเงินเก็บ มีสุขภาพที่ดี นั่นเอง เป็นเพราะในยุคนั้น การมีชีวิตอยู่รอดในแต่ละวันสำคัญที่สุด ใครจะรู้ว่าจะวันไหนจะถูกนักล่าจับไปกินเมื่อไหร่ เราจึงรับนิสัยแย่ๆ เหล่านี้มาจากบรรพบุรุษมนุษย์ลิง แย่เนอะ
นักวิชาการศึกษาเรื่องผลของเวลากับตัวเลือก และการควบคุมตัวเอง คนเรามักสูญเสียความสามารถในการวัด เพื่อเปรียบเทียบผลที่คาดว่าจะได้ในอนาคตเทียบกับประโยชน์ในปัจจุบัน เรามีแนวโน้มที่จะเลือกประโยชน์ใกล้ตัวมากกว่า หรือภาษาวิชาการเรียกว่า "ผลัดวันประกันพรุ่ง" (procrastination) เราเลือกตัวเลือกที่ให้ประโยชน์ในปัจจุบันมากกว่าตัวเลือกที่ประโยชน์ในอนาคต ยิ่งกว่านั้น เรามีแนวโน้มที่จะประเมินค่าผลประโยชน์ในอนาคตต่ำกว่าที่ควรเป็น หรือมองโลกในแง่ดีเกินจริง เช่น คาดว่าเราจะมีรายได้เพิ่มเติมมากขึ้นเพียงพอในอนาคตทำให้เราไม่ต้องเก็บออม หรือเดี๋ยวก็ผอมเอง กินไปเถอะ เพื่อเป็นข้ออ้างของทางเลือกของเรา
เราสามารถแก้ปัญหาเหล่านี้ได้หลายแนวทาง ตั้งแต่การกระจายผลประโยชน์ในอนาคต มาในปัจจุบัน เช่นๆ เลือกการลงทุนที่มีทางเลือกให้ค่อยๆ จ่ายผลประโยชน์ตอบแทนเป็นรายปี เพิ่มกลไกการผูกมัดตัวเองล่วงหน้าหรือกระตุ้นโดยทางสังคม เช่น นัดกับเพื่อนๆ ไปออกกำลังกาย ปัจจุบันมีเวปไซค์ที่จะโพสข้อความฟ้องเพื่อนๆ เมื่อเราไม่สามารถลดน้ำหนักได้ตามเป้าหมาย หรือการเพิ่มแนวโน้มของประโยชน์ในอนาคต เพิ่มอุปสรรคในการเลือกประโยชน์ปัจจุบัน ไปจนถึงการใช้กฎเกณฑ์บังคับ อย่างกำหนดส่งงานที่ชัดเจน และต้องคอยรายงานเป็นระยะๆ ถึงความคืบหน้าของงาน แล้วที่นี้รู้หรือยังว่าทำไมในสังคมประชาธิปไตย เรายังต้องบังคับใช้กฏหมายที่ดูจะยุ่งกับการวางแผนออมเงินส่วนตัวเราอย่าง ประกันสังคม กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ หรือบางท่าน (จำใจ)ใช้วิธีพลีรายได้ในแต่ละเดือนให้ภรรยาหรือสามีเอาไปบริหารจัดการ พร้อมเสียเงินค่าบริหารอย่างเต็มใจ(?) ส่วนเรื่องการเม้มเงินซ่อนภรรยาไว้ ไม่ปรากฏหลักฐานว่ามนุษย์ลิงเคยทำหรือเปล่า หรืออาจจะเคยทำแล้วโดยจับได้!
ภาพประกอบจาก internet |
นักวิชาการศึกษาเรื่องผลของเวลากับตัวเลือก และการควบคุมตัวเอง คนเรามักสูญเสียความสามารถในการวัด เพื่อเปรียบเทียบผลที่คาดว่าจะได้ในอนาคตเทียบกับประโยชน์ในปัจจุบัน เรามีแนวโน้มที่จะเลือกประโยชน์ใกล้ตัวมากกว่า หรือภาษาวิชาการเรียกว่า "ผลัดวันประกันพรุ่ง" (procrastination) เราเลือกตัวเลือกที่ให้ประโยชน์ในปัจจุบันมากกว่าตัวเลือกที่ประโยชน์ในอนาคต ยิ่งกว่านั้น เรามีแนวโน้มที่จะประเมินค่าผลประโยชน์ในอนาคตต่ำกว่าที่ควรเป็น หรือมองโลกในแง่ดีเกินจริง เช่น คาดว่าเราจะมีรายได้เพิ่มเติมมากขึ้นเพียงพอในอนาคตทำให้เราไม่ต้องเก็บออม หรือเดี๋ยวก็ผอมเอง กินไปเถอะ เพื่อเป็นข้ออ้างของทางเลือกของเรา
เราสามารถแก้ปัญหาเหล่านี้ได้หลายแนวทาง ตั้งแต่การกระจายผลประโยชน์ในอนาคต มาในปัจจุบัน เช่นๆ เลือกการลงทุนที่มีทางเลือกให้ค่อยๆ จ่ายผลประโยชน์ตอบแทนเป็นรายปี เพิ่มกลไกการผูกมัดตัวเองล่วงหน้าหรือกระตุ้นโดยทางสังคม เช่น นัดกับเพื่อนๆ ไปออกกำลังกาย ปัจจุบันมีเวปไซค์ที่จะโพสข้อความฟ้องเพื่อนๆ เมื่อเราไม่สามารถลดน้ำหนักได้ตามเป้าหมาย หรือการเพิ่มแนวโน้มของประโยชน์ในอนาคต เพิ่มอุปสรรคในการเลือกประโยชน์ปัจจุบัน ไปจนถึงการใช้กฎเกณฑ์บังคับ อย่างกำหนดส่งงานที่ชัดเจน และต้องคอยรายงานเป็นระยะๆ ถึงความคืบหน้าของงาน แล้วที่นี้รู้หรือยังว่าทำไมในสังคมประชาธิปไตย เรายังต้องบังคับใช้กฏหมายที่ดูจะยุ่งกับการวางแผนออมเงินส่วนตัวเราอย่าง ประกันสังคม กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ หรือบางท่าน (จำใจ)ใช้วิธีพลีรายได้ในแต่ละเดือนให้ภรรยาหรือสามีเอาไปบริหารจัดการ พร้อมเสียเงินค่าบริหารอย่างเต็มใจ(?) ส่วนเรื่องการเม้มเงินซ่อนภรรยาไว้ ไม่ปรากฏหลักฐานว่ามนุษย์ลิงเคยทำหรือเปล่า หรืออาจจะเคยทำแล้วโดยจับได้!
3-4.0 BEHAVIORAL ECONOMICS: Choice or no choice ตอนที่ 4
Reviewed by aphidet
on
9:13 AM
Rating:
No comments: