ปลายศตวรรษที่ 20 นักวิทยาศาสตร์ได้ค้นพบ ส่วนของสมองที่เรียกว่า เซลล์สมองกระจกเงา (mirror neuron) คาดกันว่ามันอยู่ในสมองส่วนที่เรียกว่า... อ่า อะไรนะ ช่างมันละกัน เอาเป็นว่า มันมีบทบาทของสำคัญซึ่งเราใช้ในการเรียนรู้โดยเลียนแบบพฤติกรรมของผู้อื่น ทั้งทางกายภาพและการรับรู้ทางอารมณ์
เซลล์สมองกระจกเงารับรู้เรื่องราวและความรู้สึกจากประสาทสัมผัสต่างๆ โดยไม่เพียงแต่ทำให้เราเลียนแบบพฤติกรรมของผู้อื่นเท่านั้น แต่ในสัตว์ชั้นสูงอย่างมนุษย์ มันยังเป็นตัวแปลความและกำกับอารมณ์ความรู้สึกต่างๆ ของเรา ช่วยให้เรารับรู้เข้าใจความรู้สึกและปฏิกริยาของผู้อื่น เรากลืนน้ำลายเวลาเห็นคนอื่นทานอาหารอย่างเอร็ดอร่อย กระโดดตัวลอยเมื่อทีมบอลที่เราเชียร์ยิงประตูได้ ห่อเหี่ยวเมื่อทีมโปรดต้องพ่ายแพ้ ร้องให้กับชีวิตอันรันทดของโอชิน(เก่าไปมะ) เราอิ่มเอิมไปเสียงดนตรีคลาสสิค เราจิตนาการได้ถึงความเจ็บปวดของตัวละครที่เรากำลังอ่าน เห็นอกเห็นใจผู้อื่น เมื่อทราบถึงเรื่องเลวร้ายที่เกิดขึ้น เป็นเดือดเป็นแค้น เมื่อรู้ว่าผู้อื่นถูกเอารัดเอาเปรียบ
ในแง่การตลาด การสื่อสารโดยตรงกับเซลล์สมองกระจกเงาของเราเป็นกระบวนการที่ซับซ้อนกว่าการกระตุ้นความต้องการแบบทั่วไปมาก แน่ละมันมีอำนาจมากกว่ามากเช่นกัน เซลล์สมองกระจกเงามักจะทำงานรวมกับสารเคมีบางตัวในสมองอย่างโดพามีน ซึ่งมีหน้าที่สร้างความพึงพอใจ กระบวนการสื่อสารเริ่มตั้งแต่การทักทายอย่างยิ้มแย้มของพนักงานขาย จะส่งผลทำให้เรารู้สึกดีตามไปด้วย ตามมาด้วยรูปของนางแบบ นายแบบ ที่รูปร่างดี กระตุ้นให้เราคิดไปเองว่า เราก็ต้องดูดีเหมือนกันแน่ๆ ใครเคยเป็นแบบนี้บ้างครับ ผมมีเพื่อนอยู่คนนึง ระหว่างเดินดูสินค้าเรื่อยเปื่อยในห้างสรรพสินค้า พอเลือบไปเห็นป้ายโฆษณาพร้อมนายแบบสุดเท่ห์ที่สวมใส่ตัวสินค้าอยู่ เพื่อนคนนี้จึงตัดสินใจซื้อพร้อมประกาศอย่างมั่นใจว่า ขนาดนายแบบใส่แล้วยังดูดีเลย ตูต้องดูดีแน่ๆ ว่าแล้วก็หิ้วของไปจ่ายตังค์เลย นายแบบที่ว่าเป็นฝรั่งสุดหล่อสูงเพรียว... ส่วนเพื่อนผมคงไม่ต้องพูดถึง ปัจจุบันมีภรรยาเป็นหมอ และลูกสาวที่น่ารักอีก 2 คน (ไม่รู้ตัวก็ให้รู้กันไป)
อีกตัวอย่างคือการถ่ายคลิปประเภท unbox หรือการโชว์เปิดกล่องสินค้าที่เพิ่งออกวางตลาดมาดๆ บน youtube เป็นการกระตุ้นให้ผู้รับชมรู้สึกเหมือนว่าได้ซื้อมาด้วยตัวเอง การว่าจ้างทั้งคนดังและไม่ดังให้ใช้ผลิตภัณฑ์แล้วโพสรูปบนโซเชียลมีเดียหรือให้เดินตามท้องถนนทั่วไป ก็เป็นการสื่อสารกับเซลล์สมองกระจกเงา จะว่าไปการซื้อสินค้าเป็นการซื้อภาพลักษณ์และทัศนคติต่อตัวสินค้านั่นเอง
การตลาดในปัจจุบันและในยุคต่อๆ ไป พวกเค้าไม่ได้กำลังสื่อสารกับตัวเรา แต่กำลังสื่อสารกับสมองของเราโดยตรงต่างหาก...จนกว่าจะมีวิธีการที่แยบยลกว่าในการเข้าถึงสมองของเรา
ภาพประกอบจาก internet |
ในแง่การตลาด การสื่อสารโดยตรงกับเซลล์สมองกระจกเงาของเราเป็นกระบวนการที่ซับซ้อนกว่าการกระตุ้นความต้องการแบบทั่วไปมาก แน่ละมันมีอำนาจมากกว่ามากเช่นกัน เซลล์สมองกระจกเงามักจะทำงานรวมกับสารเคมีบางตัวในสมองอย่างโดพามีน ซึ่งมีหน้าที่สร้างความพึงพอใจ กระบวนการสื่อสารเริ่มตั้งแต่การทักทายอย่างยิ้มแย้มของพนักงานขาย จะส่งผลทำให้เรารู้สึกดีตามไปด้วย ตามมาด้วยรูปของนางแบบ นายแบบ ที่รูปร่างดี กระตุ้นให้เราคิดไปเองว่า เราก็ต้องดูดีเหมือนกันแน่ๆ ใครเคยเป็นแบบนี้บ้างครับ ผมมีเพื่อนอยู่คนนึง ระหว่างเดินดูสินค้าเรื่อยเปื่อยในห้างสรรพสินค้า พอเลือบไปเห็นป้ายโฆษณาพร้อมนายแบบสุดเท่ห์ที่สวมใส่ตัวสินค้าอยู่ เพื่อนคนนี้จึงตัดสินใจซื้อพร้อมประกาศอย่างมั่นใจว่า ขนาดนายแบบใส่แล้วยังดูดีเลย ตูต้องดูดีแน่ๆ ว่าแล้วก็หิ้วของไปจ่ายตังค์เลย นายแบบที่ว่าเป็นฝรั่งสุดหล่อสูงเพรียว... ส่วนเพื่อนผมคงไม่ต้องพูดถึง ปัจจุบันมีภรรยาเป็นหมอ และลูกสาวที่น่ารักอีก 2 คน (ไม่รู้ตัวก็ให้รู้กันไป)
อีกตัวอย่างคือการถ่ายคลิปประเภท unbox หรือการโชว์เปิดกล่องสินค้าที่เพิ่งออกวางตลาดมาดๆ บน youtube เป็นการกระตุ้นให้ผู้รับชมรู้สึกเหมือนว่าได้ซื้อมาด้วยตัวเอง การว่าจ้างทั้งคนดังและไม่ดังให้ใช้ผลิตภัณฑ์แล้วโพสรูปบนโซเชียลมีเดียหรือให้เดินตามท้องถนนทั่วไป ก็เป็นการสื่อสารกับเซลล์สมองกระจกเงา จะว่าไปการซื้อสินค้าเป็นการซื้อภาพลักษณ์และทัศนคติต่อตัวสินค้านั่นเอง
การตลาดในปัจจุบันและในยุคต่อๆ ไป พวกเค้าไม่ได้กำลังสื่อสารกับตัวเรา แต่กำลังสื่อสารกับสมองของเราโดยตรงต่างหาก...จนกว่าจะมีวิธีการที่แยบยลกว่าในการเข้าถึงสมองของเรา
3-2.0 BEHAVIORAL ECONOMICS: Choice or no choice ตอนที่ 2
Reviewed by aphidet
on
6:30 AM
Rating:
No comments: