การให้กู้ยืมมาพร้อมกับความเสี่ยงว่าผู้กู้อาจจะไม่สามารถชำระเงินได้ครบถ้วนตามกำหนดเวลาที่กำหนด หรือแม้แต่ชักดาบหนีหายไป ในมุมของผู้ให้กู้ก็ถือเป็นการลงทุนที่มีความเสี่ยง ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อผลตอบแทนของฝ่ายให้กู้ และอัตราดอกเบี้ยที่ผู้กู้ต้องจ่าย
เป็นเวลากว่าหลายพันปีที่การกู้ยืมมีปัจจัยที่เกี่ยวข้องกันระหว่าง เงินต้นหรือสิ่งของที่ต้องการยืม ระยะเวลาที่ต้องชำระคืน ผลตอบแทนหรือดอกเบี้ย และที่สำคัญ คือความเสี่ยงหรือที่เราเรียกกันติดปากว่าเครดิตของผู้กู้ ผู้เขียนได้ยกตัวอย่างกรณีของตนเองในช่วงที่ย้ายจากอังกฤษมาทำงานในสหรัฐในปี 2010 ทั้งๆที่ตนเองมีงานใหม่ในสหรัฐที่รายได้สูง มีพอร์ทการลงทุนที่แข็งแกร่ง มีรายรับมากว่ารายจ่ายมาก แต่กลับไม่สามารถขอกู้เงินในเรื่องพื้นๆจากธนาคารได้ เนื่องจากไม่มีข้อมูล credit score ในสหรัฐ เนื่องจากกระบวนการพิจารณาความเสี่ยงในการกู้ยืมนั้น จำเป็นต้องใช้ข้อมูลดังกล่าว ปัจจุบันการทำ credit score ในนั้น เป็นการรวบรวมและวิเคราะห์ทางสถิติจากพฤติกรรมการชำระเงินกู้ในอดีต จากงานวิจัยพบว่าระบบดังกล่าวมีข้อบกพร่องหลายด้าน ล่าช้า ออกแบบมาเพื่อประโยชน์ของฝ่ายให้กู้ มากกว่าผู้กู้ (คือเป็นการให้คะแนนด้านลบของพฤติกรรมแย่ๆ ของผู้ที่เคยกู้มากกว่าจะคาดการณ์ถึงความสามารถในการชำระเงินในปัจจุบัน) ด้วยวิธีการที่ดูถึงประวัติการชำระเงินกู้เป็นหลัก ก็ดูจะเอื้อแก่คนที่ชอบกู้เงินบ่อยๆ มากกว่าคนที่ไม่นิยมกู้เงิน หรือคนที่เลือกกู้เฉพาะที่จำเป็น ซึ่งมักเป็นคนกลุ่มที่มีวินัยทางการเงินดี ยิ่งในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจ หน่วยงานกำกับดูแลกำหนดให้ธนาคารควบคุมความเสี่ยงอย่างเข้มงวด เป็นผลให้การปล่อยกู้ลูกค้ารายใหม่ลดลง และไม่ปล่อยเลยให้กับธุรกิจบางประเภท
ในด้านของผู้กู้เองนั้น ในปัจจุบันการใช้บัตรเครดิตและบัตรเดบิตแทนการใช้เงินสด ลดการยับยั้งชั่งใจในการใช้เงินของเรา น้อยคนที่จะบันทึกรายละเอียดการใช้เงินในชีวิตประจำวัน เพื่อดูว่าเราใช้เงินในแต่ละเรื่องไปเท่าไหร่ ใช้บ่อยแค่ไหน เรียกได้ว่าเราขาด visibility ในการใช้เงิน การที่เราไม่สามารถรู้เท่าทันและปรับพฤติกรรมการใช้เงินให้เหมาะสมได้ นำไปสู่ความเสี่ยงทั้งผู้ให้ยืมและผู้กู้เอง ปัจจุบัน อเมริกันชนกว่า 68% ต้องใช้ชีวิตแบบเดือนชนเดือน ไม่มีเงินเก็บสำรอง
การปรับเปลี่ยนวิธีพิจารณาเครดิตหรือการทำ credit scoring จึงเป็นหัวใจสำคัญในการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการกู้ยืม โดยวิธีการแบบเดิม ต้องมีการกรอกเอกสารที่สาขาธนาคาร พิจารณาโดยดูจากข้อมูลในอดีตของเรา และเราก็ไม่เคยรู้เลยว่าธนาคารคิดอะไรและอย่างไร แถมเอาเราไปเทียบกับผู้กู้รายอื่นๆ ที่เบี้ยวหนี้ซะอีก แต่ในกระบวนการใหม่ การพิจารณาเครดิตจะมีความโปร่งใส เป็น real time ดูจากตัวตนและพฤติกรรมการใช้เงินในปัจจุบันของเรา มากกว่าแค่พึ่งพาข้อมูลในอดีต
การกู้ยืมโดยตรงระหว่างกัน หรือ peer-to-peer lender (P2P) เข้ามามีบทบาทสำคัญโดยเฉพาะในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจ ผู้ให้บริการ P2P lending รายใหญ่จากในสหรัฐอย่าง Lending Club ให้อัตราดอกเบี้ยที่ถูกกว่ากับผู้กู้ และให้ผลตอบแทนที่ดีกว่าแก่ผู้ลงทุน โดยที่มีสัดส่วนหนี้เสีย(default rate) ต่ำกว่าธนาคารมาก Lending Club เติบโตอย่างรวดเร็วในช่วงวิกฤตที่ผู้กู้ในหลายธุรกิจไม่สามารถหาแหล่งเงินกู้จากระบบธนาคารได้ มีจุดเด่นที่วิธีประเมินความเสี่ยงของผู้กู้ที่มีประสิทธิภาพ ทำให้สามารถวิเคาะห์ความเสี่ยงของผู้ขอกู้ได้ดีกว่าที่ธนาคารทำได้
เรามาทำความรู้จักกับธุรกิจรูปแบบใหม่กันหน่อย P2P Lending นั้นแตกต่างไปจากธนาคารทั่วไปคือ ผู้ให้บริการไม่ใช่ผู้รับฝากเงิน และไม่ใช่ผู้ให้กู้เงิน แต่ให้บริการจับคู่ระหว่างผู้ขอกู้และผู้ให้กู้ (หรือผู้ลงทุน) โดยทั้งสองฝ่ายไม่ต้องรู้จักกัน (เหมือนเป็นโบรคเกอร์ซื้อขายหลักทรัพย์) ผู้ให้บริการมีรายได้จากค่าธรรมเนียมการให้บริการ ไม่ใช่จากส่วนต่างดอกเบี้ย ถ้าสามารถประเมินความเสี่ยงได้ดี คัดกรองแต่ผู้กู้คุณภาพดีเข้ามา ผู้ใช้บริการก็จะเพิ่มมากขึ้นทั้งฝ่ายผู้กู้และผู้ลงทุน รายได้ก็มากตาม
ข้ามฝั่งมาเกาะอังกฤษกันบ้าง ผู้ให้บริการ P2P Lending รายแรกของโลกอย่าง Zopa ซึ่งเริ่มให้บริการในปี 2005 เริ่มต้นจากการเปลี่ยนมุมมองจากฝ่ายผู่ให้กู้ยืม เป็นผู้ต้องการกู้ยืมแทน จากแนวความคิดว่า ธุรกิจขนาดใหญ่นั้นสามารถเข้าถึงแหล่งเงินกู้โดยการออกหุ้นกู้หรือพันธบัตร(corporate bond) เพื่อกู้เงินโดยตรงจากผู้ลงทุน ในอัตราดอกเบี้ยต่ำกว่าการกู้จากธนาคาร แล้วทำไมผู้กู้รายย่อย หรือธุรกิจเล็กๆ อย่างเราๆ ถึงต้องไปกู้จากธนาคารที่ดอกเบี้ยสูงกว่าบริษัทใหญ่ๆซะอีก เคล็ดลับสำคัญของผู้ให้บริการ P2P Lending อย่าง Zopa คือขั้นตอนการประเมินความเสี่ยง(ในการเป็นหนี้เสีย)ของผู้กู้ที่ดีเยี่ยม ซึ่งทำให้ Zopa มีสัดส่วนของหนี้เสียต่ำที่สุดในอุตสาหกรรม ต่ำกว่าธนาคารที่ทำได้ดีเสียอีก โดยในปี 2012 มีสัดส่วนของหนี้เสีย 0.5% ในขณะที่ HSBC มี 0.9% ที่น่าทึ่งคือ เมื่อเทียบกับการเติบโตอย่างรวดเร็วในช่วงเวลาดังกล่าว 60%+ YoY (คือคุมตัวเลขหนี้เสียได้ดีมากๆ ในขณะที่ธนาคารมักคุมโดยการจำกัดการปล่อยกู้ ซึ่งแสดงให้เห็นว่า risk model สุดยอดมาก)
โดย risk model ของ Zopa นั้น นอกเหนือจากใช้ข้อมูลทางการเงินพื้นฐานแบบเดียวกับที่ธนาคารใช้แล้ว Zopa ยังรวมข้อมูลอื่นๆ ที่มีผลต่อพฤติกรรมการใช้เงิน และรูปแบบการชำระเงินของผู้กู้ (ผู้ถูกสัมภาษณ์จาก Zopa ไม่ได้บอกว่าข้อมูลอะไร) การใช้ข้อมูลที่ดีกว่าและมีประสิทธิภาพกว่า ทำให้ในด้านผุ้ลงทุนเองก็สามารถคาดคะเนผลตอบแทนในระยะยาวได้
Note *IOU, UOME เป็นการเล่นเสียงของคำว่า I own you และ You own me หมายถึงฉันเป็นหนี้เธอ เธอเป็นหนี้ฉัน
ภาพประกอบจาก internet |
ในด้านของผู้กู้เองนั้น ในปัจจุบันการใช้บัตรเครดิตและบัตรเดบิตแทนการใช้เงินสด ลดการยับยั้งชั่งใจในการใช้เงินของเรา น้อยคนที่จะบันทึกรายละเอียดการใช้เงินในชีวิตประจำวัน เพื่อดูว่าเราใช้เงินในแต่ละเรื่องไปเท่าไหร่ ใช้บ่อยแค่ไหน เรียกได้ว่าเราขาด visibility ในการใช้เงิน การที่เราไม่สามารถรู้เท่าทันและปรับพฤติกรรมการใช้เงินให้เหมาะสมได้ นำไปสู่ความเสี่ยงทั้งผู้ให้ยืมและผู้กู้เอง ปัจจุบัน อเมริกันชนกว่า 68% ต้องใช้ชีวิตแบบเดือนชนเดือน ไม่มีเงินเก็บสำรอง
ภาพประกอบจาก Zopa.com |
การกู้ยืมโดยตรงระหว่างกัน หรือ peer-to-peer lender (P2P) เข้ามามีบทบาทสำคัญโดยเฉพาะในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจ ผู้ให้บริการ P2P lending รายใหญ่จากในสหรัฐอย่าง Lending Club ให้อัตราดอกเบี้ยที่ถูกกว่ากับผู้กู้ และให้ผลตอบแทนที่ดีกว่าแก่ผู้ลงทุน โดยที่มีสัดส่วนหนี้เสีย(default rate) ต่ำกว่าธนาคารมาก Lending Club เติบโตอย่างรวดเร็วในช่วงวิกฤตที่ผู้กู้ในหลายธุรกิจไม่สามารถหาแหล่งเงินกู้จากระบบธนาคารได้ มีจุดเด่นที่วิธีประเมินความเสี่ยงของผู้กู้ที่มีประสิทธิภาพ ทำให้สามารถวิเคาะห์ความเสี่ยงของผู้ขอกู้ได้ดีกว่าที่ธนาคารทำได้
เรามาทำความรู้จักกับธุรกิจรูปแบบใหม่กันหน่อย P2P Lending นั้นแตกต่างไปจากธนาคารทั่วไปคือ ผู้ให้บริการไม่ใช่ผู้รับฝากเงิน และไม่ใช่ผู้ให้กู้เงิน แต่ให้บริการจับคู่ระหว่างผู้ขอกู้และผู้ให้กู้ (หรือผู้ลงทุน) โดยทั้งสองฝ่ายไม่ต้องรู้จักกัน (เหมือนเป็นโบรคเกอร์ซื้อขายหลักทรัพย์) ผู้ให้บริการมีรายได้จากค่าธรรมเนียมการให้บริการ ไม่ใช่จากส่วนต่างดอกเบี้ย ถ้าสามารถประเมินความเสี่ยงได้ดี คัดกรองแต่ผู้กู้คุณภาพดีเข้ามา ผู้ใช้บริการก็จะเพิ่มมากขึ้นทั้งฝ่ายผู้กู้และผู้ลงทุน รายได้ก็มากตาม
ข้ามฝั่งมาเกาะอังกฤษกันบ้าง ผู้ให้บริการ P2P Lending รายแรกของโลกอย่าง Zopa ซึ่งเริ่มให้บริการในปี 2005 เริ่มต้นจากการเปลี่ยนมุมมองจากฝ่ายผู่ให้กู้ยืม เป็นผู้ต้องการกู้ยืมแทน จากแนวความคิดว่า ธุรกิจขนาดใหญ่นั้นสามารถเข้าถึงแหล่งเงินกู้โดยการออกหุ้นกู้หรือพันธบัตร(corporate bond) เพื่อกู้เงินโดยตรงจากผู้ลงทุน ในอัตราดอกเบี้ยต่ำกว่าการกู้จากธนาคาร แล้วทำไมผู้กู้รายย่อย หรือธุรกิจเล็กๆ อย่างเราๆ ถึงต้องไปกู้จากธนาคารที่ดอกเบี้ยสูงกว่าบริษัทใหญ่ๆซะอีก เคล็ดลับสำคัญของผู้ให้บริการ P2P Lending อย่าง Zopa คือขั้นตอนการประเมินความเสี่ยง(ในการเป็นหนี้เสีย)ของผู้กู้ที่ดีเยี่ยม ซึ่งทำให้ Zopa มีสัดส่วนของหนี้เสียต่ำที่สุดในอุตสาหกรรม ต่ำกว่าธนาคารที่ทำได้ดีเสียอีก โดยในปี 2012 มีสัดส่วนของหนี้เสีย 0.5% ในขณะที่ HSBC มี 0.9% ที่น่าทึ่งคือ เมื่อเทียบกับการเติบโตอย่างรวดเร็วในช่วงเวลาดังกล่าว 60%+ YoY (คือคุมตัวเลขหนี้เสียได้ดีมากๆ ในขณะที่ธนาคารมักคุมโดยการจำกัดการปล่อยกู้ ซึ่งแสดงให้เห็นว่า risk model สุดยอดมาก)
โดย risk model ของ Zopa นั้น นอกเหนือจากใช้ข้อมูลทางการเงินพื้นฐานแบบเดียวกับที่ธนาคารใช้แล้ว Zopa ยังรวมข้อมูลอื่นๆ ที่มีผลต่อพฤติกรรมการใช้เงิน และรูปแบบการชำระเงินของผู้กู้ (ผู้ถูกสัมภาษณ์จาก Zopa ไม่ได้บอกว่าข้อมูลอะไร) การใช้ข้อมูลที่ดีกว่าและมีประสิทธิภาพกว่า ทำให้ในด้านผุ้ลงทุนเองก็สามารถคาดคะเนผลตอบแทนในระยะยาวได้
Note *IOU, UOME เป็นการเล่นเสียงของคำว่า I own you และ You own me หมายถึงฉันเป็นหนี้เธอ เธอเป็นหนี้ฉัน
7.0 IOU, UOME* credit and lending 1
Reviewed by aphidet
on
8:13 AM
Rating:
ไม่ได้บอกว่า IOU,OUME หมายถึงอะไร
ReplyDeleteแต่เข้าใจสิ่งที่เปลี่ยนแปลง
ในการวิเคราะห์ข้อมูลผู้กู้
สงสัยแค่ว่า ในผู้กู้รายย่อย
ไหงมีแค่ yes กับ no
ไม่เห็นนำไปสู่ความแตกต่างของอัตราดอกดบี้ย เหมือนแบบผู้กู้รายใหญ่ๆ
IOU, UOME เป็นการเล่นเสียงของคำว่า I own you, you own me หมายถึงฉันเป็นหนี้เธอ เธอเป็นหนี้ฉัน ซึ่งเป็นหลักการพื้นฐานของ peer-to-peer lending ครับ
Deleteส่วนอีกคำถาม เข้าใจว่าหมายถึงการกู้ผ่านหรือไม่ใช่ผ่านใช่หรือเปล่าครับ จริงๆ แล้วธนาคารสามารถให้อัตราดอกเบี้ยแต่ละรายแตกต่างกันได้นะ เหมือนเรากู้บ้าน แต่ละคนก็ต่อรองได้อัตราแตกต่างกัน หรือลูกค้ามีฐานะดี ก็จ่ายดอกเบี้ยเงินกู้ในอัตราต่ำกว่าคนอื่นๆนะ แต่...ธนาคารไม่ค่อยอยากทำให้ และหลายธนาคารระบบข้อมูลไม่เอื้อให้ทำแบบนั้น หรือง่ายๆ คือไม่อยากเสียเวลานั้นเอง