5.0 Smarter Planet, Next-Gen Payment 1

รูปแบบการชำระเงินในปัจจุบัน มีวิวัฒนาการมาพร้อมกับระบบการเงินของมนุษยชาติ ตั้งแต่การแลกเปลี่ยนสินค้ากับหอยเบี้ย เงินกระดาษ ตั๋วแลกเงิน ไปจนถึงการโอนเงินทางโทรศัพท์ และคอมพิวเตอร์ ซึ่งแต่เดิมการชำระเงินเหล่านี้จะต้องพึ่งบริการของธนาคารเท่านั้น 
ภาพประกอบจาก internet
โดยทั่วการชำระเงินหรือโอนเงิน จะประกอบไปด้วย กระบวนการที่ซับซ้อน และระบบที่มีความเที่ยงตรงสูง ถ้าเราคิดว่าการชำระเงิน การโอนเงินสมัยนี้ก็ไม่เห็นจะยุ่งอยากอะไร ทำผ่านมือถือก็ได้ เพื่อให้เห็นตัวอย่างง่ายๆ เรามาดูการใช้มือถือติดต่อระหว่างกัน กรณีที่เบอร์ต้นทางและปลายทางมีผู้ให้บริการคนละราย กิจกรรมง่ายๆ แบบนี้ แท้จริงแล้วมีสิ่งที่เกี่ยวข้องมากมาย นับตั้งแต่ข้อตกลงการแบ่งรายได้ระหว่างผู้ให้บริการ มาตราฐานทางเทคโนโลยีการสื่อสาร มาตราฐานของอุปกรณ์โทรศัพท์ อุปกรณ์แปลงสัญญาณดิจิตอลและชิปประมวลผล เสาสัญญาณ ระบบเครื่อข่าย และอื่นๆ อีกมากมาย แต่การโทรศัพท์หากันนั้น เราทำได้ง่ายๆ แค่กดเบอร์ปลายทางบนมือถือ กระบวนการที่ดูเรียบง่ายนี้ ซ่อนความซับซ้อนของเทคโนโลยีและกระบวนการน่าเวียนหัวไว้จนเราไม่เคยสังเกตุเห็น

มาลองเปรียบเทียบการโทรศัพท์กับขั้นตอนการโอนเงินต่างธนาคาร โดยสมมุติว่าธนาคารเป็นผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ การโทรศัพท์หากัน เราจำเป็นต้องกดรหัสเพื่อ log เข้าระบบของผู้ให้บริการของเรา หลังจากนั้นก็ระบุผู้ให้บริการของเบอร์ปลายทาง กดระบุเบอร์ปลายทาง กดยืนยันค่าบริการและจำนวนเงินที่ต้องใช้ กดยืนยันการโทร แล้วถ้าสายหลุด หรือปลายทางมีปัญหาเรื่องสัญญาณ เราก็ต้องทำแบบนี้อีกรอบ อื่ม... ไม่โทรมันละ

ในสหรัฐอเมริกาซึ่งนิยมใช้เช็คเพื่อทำธุรกรรมชำระเงิน เริ่มพบแนวโน้มที่ลดลงอย่างต่อเนื่อง จาก 1 หมื่น 7 พันล้านใบในปี ค.ศ. 2000 ลงมาเหลือไม่ถึง 5 พันล้านใบในปัจจุบัน ในขณะที่ค่าธรรมเนียมจากการชำระสินค้าและบริการผ่านเครือข่ายระบบบัตรต่างๆ ของสหรัฐ แต่ละปีมูลค่ากว่า 40,000 ล้านเหรียญ การลดลงของการใช้เช็คไม่ได้แปลว่าชาวอเมริกันจับจ่ายใช้สอย ชำระสินค้าและบริการ น้อยลงแต่อย่างได ถ้ามองให้ลึกลงไป การลดลงของเช็คนั้นสวนทางกับการเติบโตอย่างต่อเนื่องของเทคโนโลยี mobile ผู้เขียนได้ยกตัวอย่างหนึ่งของผู้ให้บริการชำระเงินนอกกลุ่มธนาคารรายนึงที่เติบโตอย่างรวดเร็ว

Dwolla ให้บริการเครือข่ายชำระเงิน (payment network) ที่สร้างระบบเครือข่ายของตนเอง สามารถทำธุรกรรมทางการเงินต่างๆ คล้ายกับใช้บัตรเครดิต เช่น ชำระเงิน โอนเงินระหว่างบัญชีกับบุคคล แม้แต่กรณีที่ผู้รับเงินมีเพียงบัญชีผู้ใช้งานบน facebook

ที่มาที่ไปเกิดจากแนวคิดของผู้ก่อตั้งที่เคยทำธุรกิจขายสินค้าผ่านช่องทาง online ในกรณีที่ลูกค้าชำระสินค้าผ่านบัตรเครดิต เค้าพบว่าบริษัทต้องจ่ายค่าบริการ (intercharge fee) ให้แก่บริษัทบัตรเครดิตถึงปีละกว่า 5.5 หมื่นเหรียญ เลยเกิดความคิดว่า ทำไมต้องจ่ายเงินเยอะขนาดนี้ให้คนอื่นด้วย นี่มันปล้นกันชัดๆ จึงเกิดแรงความมุ่งมั่นหาวิธีการที่ดีกว่า และประหยัดกว่าในการโอนเงินเพื่อชำระสินค้าและบริการ ในขณะที่ระบบยังมีความปลอดภัยสูงและเชื่อถือได้ สามารถให้บริการกับทุกคนและทุกสิ่งที่สามารถเชื่อมต่อกับ internet ได้ 

ในสหรัฐนั้น ค่าธรรมเนียมจากการชำระสินค้าและบริการผ่านเครือข่ายบัตรต่างๆ แต่ละปีมูลค่ากว่า 40,000 ล้านเหรียญ ถ้านับรวมจากช่องทางอื่นๆ รวมถึงการใช้เช็ค การโอนผ่านระบบและนอกระบบธนาคาร ( เช่น PayPal Square) ตัวเลขจะมากกว่านั้นมาก ธุรกิจให้บริการการชำระเงินและโอนเงินก็มีมูลค่ามหาศาลเช่นกัน

จากแนวคิดที่ว่า "เงิน" นั้นเสมือนกับ"ข้อมูล"ที่สามารถบริหารจัดการ และติดตามได้ด้วยระบบ ความต้องการระบบใหม่ที่ตอบโจทย์การใช้งานแบบ end-to-end ระหว่างสถาบันการเงินด้วยกันเอง ระหว่างร้านค้าและผู้บริโภค อีกทั้งความต้องการเอาชนะข้อจำกัดของระบบ check clearing ของสหรัฐ (Automated Clearing House หรือ ACH) และระบบเครือข่ายบัตรเครดิตต่างๆ จึงทำให้ Dwolla พัฒนาระบบการชำระเงินของตัวเองขึ้นมา แทนที่จะสร้างขึ้นบนระบบเครือข่ายของผู้ให้บริการอื่นๆ อย่าง VISA หรือ Master Card เหมือนอย่างกรณีของ PayPal หรือ Square ทำให้ต้นทุนในการบริการต่ำกว่ามาก

เครือข่ายการชำระเงินที่เกิดใหม่นั้น เรียกได้ว่าสามารถทดแทนระบบการโอนเงินระหว่างธนาคาร ระบบเครือข่าย ระบบ check clearing ของสหรัฐ และที่สำคัญคือสามารถทดแทนระบบชำระเงินของผู้ให้บริการบัตรเครดิตต่างๆ โดยมีร้านค้าเข้าร่วมกว่า 25,000 ราย รวมถึงองค์กรเพื่อการกุศลและหน่วยงานของรัฐต่างๆ อัตราค่าบริการอยู่ที่ 25 เซนต์ต่อรายการ หรือไม่คิดเลยกรณีที่มูลค่าต่อรายการไม่เกิน 10 ดอลล่าสหรัฐ ต่างจาก PayPal ที่คิดเป็น % ของมูลค่าเงิน ปัจจุบันบริการของ Dwolla ครอบคลุมทั้ง ส่วนบุคคล สถาบันการเงิน ธุรกิจการค้าและภาครัฐ (ซึ่งแสดงให้เห็นว่าระบบใหม่นี้ผ่านมาตราฐานความปลอดภัยของภาครัฐ) ที่น่าสนใจคือ ผู้ร่วมลงทุน 2 รายเป็นสถาบันการเงิน และผู้ให้บริการทางการเงิน นำบริการไปใช้กับธุรกิจของตนเองเป็นทางเลือกในการบริการลูกค้าของตน ในขณะที่ผู้ลงทุนที่เป็นสถาบันการเงินก็ช่วยเสริมในจุดอ่อนด้านการกำกับดูแลจากภาครัฐ เรียกได้ว่าส่งเสริมกันละกัน เป็นตัวอย่างที่แสดงให้เห็นว่าธนาคารกับ FinTech สามารถเกื้อกูลส่งเสริมกัน อ้อ เกือบลืม ผู้ก่อตั้งคือ คุณ Ben Milne มีอายุเพียง 28 จากไอโอว่า
5.0 Smarter Planet, Next-Gen Payment 1 5.0 Smarter Planet, Next-Gen Payment 1 Reviewed by aphidet on 9:55 PM Rating: 5

No comments:

Powered by Blogger.